ตั้งอยู่ริมถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง ใกล้กับหอนาฬิการิมแม่น้ำแม่กลอง อาคารพิพิธภัณฑ์เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดมาก่อน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2465 และจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปี พ.ศ.2526 และบูรณะเรื่อยมา จนในปีพ.ศ.2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จฯทรงเป็นประธานเปิด พิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ
ผู้สนใจสามารถชมพิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับราชบุรีใน ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ธรณีวิทยา ศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับสัตว์น้ำ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของกลุ่มชนต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี เช่น ลาวโซ่ง กะเหรี่ยงและไท-ยวน รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัด โบราณวัตถุที่โดดเด่นนอกจากพระแสงดาบราชศัสตราประจำมณฑลราชบุรีแล้ว ยังมี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ศิลปะขอมแบบบายน เป็น 1 ใน 5 องค์ที่ขุดพบในประเทศไทยซึ่งมีสภาพสมบูรณ์งดงามที่สุด
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท (เด็กเข้าชมฟรี) ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3232 1513 โทรสาร 0 3232 7235
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีสลักจากหินทราย ไม่มีเศียร (ขุดพบจากบริเวณสระโกสินารายณ์ อ.บ้านโป่ง)
พระวรกายของพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี ตอนบนมีจะสลักรูปพระอมิตาภะปางสมาธิโดยรอบพระวรกราย และมีรูปนางปรัชญาปารมิตาประทับนั่งถือดอกบัวอยู่ที่บั้นเอวสามองค์และที่ พระอุระ(อก)อีกหนึ่งองค์ เบื้องล่างทรงผ้าโจงกระเบนสั้น ทิ้งชายผ้ามาด้านหน้า เป็นความนิยมในศิลปะเขมรแบบบายน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เป็นรูปเคารพสำคัญของลัทธิ “โลเกศวร” ซึ่งแตกออกมาจากศาสนาพุทธนิกายวัชรยานตันตระ เป็นคติที่นิยมเฉพาะในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เท่านั้นครับ เขาถือพระโลกเกศวรเปล่งรัศมีว่า “พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วย เหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง และ ความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมาก มายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย”
ชื่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
ประเภท : พิพิธภัณฑ์
ที่อยู่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ถ.วรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทรศัพท์ : 0-3232-1513 Fax : 0-3232-7235
เปิดบริการ : 09.00–16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท(เด็กเข้าชมฟรี)
- ชาวต่างชาติ 100 บาท
- นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร นักบวชในศาสนาต่างๆ และแขกทางราชการที่ขอเข้าชมเป็นหมู่คณะไม่ต้องเสียค่าเข้าชม
บริการ : การนำชมเป็นหมู่คณะ การบรรยายทางวิชาการ บริการห้องสมุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าและข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี
ร้านจำหน่ายของที่ระลึก : จำหน่ายของที่ระลึกและหนังสือทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
สถานที่จอดรถ : กว้างขวางอยู่ ด้านหน้ารั้วพิพิธภัณฑ์